แนวความคิดการให้ค่าตอบแทนการสมรส

แนวความคิดการให้ค่าตอบแทนการสมรส
แนวความคิดการให้ค่าตอบแทนการสมรส

แนวความคิดการให้ค่าตอบแทนการสมรส
สถาบันครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของสังคมมนุษย์ การที่จะหาคำตอบของความ
เป็นมาในเรื่องของสินสอดในประเทศไทยจึงต้องเริ่มต้นศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมความเป็นมา
ของการก่อตั้งสถาบันครอบครัวแต่อย่างไรก็ดีสังคมมนุษย์มีการพัฒนาและมีความเคลื่อนไหว
ตลอดเวลา ดังปรากฏให้เห็นได้จากร่องรอยของอารยธรรมในแต่ละยุคสมัยที่มีการการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น และจากสังคมหนึ่งไปยังอีกสังคมหนึ่งได้ จึงทำให้รูปแบบประเพณีการเลือกคู่ครองการกำหนดค่าตอบแทนเพื่อการสมรส ตลอดจนการจัดพิธีแต่งงานนั้น ย่อมแตกต่างกันไปในแต่ล่ะพื้นที่ซึ่งลักษณะแต่งงานตามที่นักปราชญ์ชาวตะวันตกแบ่งไว้มีอยู่ 3 ระยะตามความเจริญของมนุษย์ 

กล่าวโดยย่อเป็นดังนี้ 2 ลักษณะแต่งงานระยะที่หนึ่ง ชายต้องการหญิงมาเป็นภริยา จะต้องฉุดคร่าลักพาตัวหญิงสาวเอาเป็นเมีย โดยไม่คำนึงว่าหญิงหรือญาติของหญิงเต็มใจหรือไม่ก็ตามประเพณีนี้ยังประพฤติกันอยู่ในหมู่ชนล้าหลัง เป็นประเพณีสมัยดั้งเดิมทั่วไปของมนุษย์ เพราะในสมัยึดกดำบรรพ์ครั้งกระโน้น มนุษย์ยงร่วมกันอยู่เป็นหมู่น้อย ๆ เป็นโคตรเป็นตระกูล คนที่อยู่ในหมู่ ตามธรรมดาก็ย่อมเป็นพี่น้องเกี่ยวข้องในตระกูลเดียวกันการมีสามีภริยาถ้ามีข้ามว่าแต่งงานภายในโคตรตระกูลเดียวกันไม่ได้ ก็ต้องไปหาภริยาจากตระกูลอื่น โดยใช้กำลังอำนาจฉุดคร่าลักพาเอามา เพราะมนุษย์ครั้งกระโน้นถ้าผิดพวกผิดโคตรกันแล้ว ก็ถือว่าเป็นคนอื่นี้เป็นศัตรูกันทั้งนั้นและการที่ไปฉุดคร่าหญิงย่อมทำให้ผู้หญิงเจ็บใจหาทางแก้แค้นี้เป็นธรรมดา ภายหลังคงจะรู้สึกขึ้นเองทั้งศีลธรรมว่าทำเช่นนี้ไม่เป็นการดีด้วยกัน จึงหาทางประนีประนอมกันเสีย ด้วยวิธีตกลงร้องขอต่อพ่อแม่และยอมยกให้โดยทำสัญญาซื้อขายหญิง ซึ่งยังติดเป็นประเพณีอย่างแฝง ๆ สืบมาคือการเรียกร้องเอาเงินทองเป็นเงินสินสอดค่าน้ำนม

ลักษณะแต่งงานระยะที่สอง เมื่อเกิดเป็นธรรมเนียมเรียกร้องเอาเงินทองหรือของใช้อย่างอื่น เป็นอย่างซื้อขายหญิงซึ่งในธรรมเนียมของชาวฮินดูก็มีกล่าวไว้ในคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ว่าเป็นวิวาหะอย่างอสูร ลางที่ฝ่ายชายไม่มีกำลังทุนทรัพย์เป็นเงินทองจะซื้อหญิงมาเป็นภริยา ก็ยอมเอาแรงงานของตนเข้าแทนเงิน รับใช้การงานให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงโดยมีกำหนดเวลาแล้วแต่จะตกลงกัน ลักษณะอย่างนี้อยู่ในหมู่ชนชาติต่าง ๆเช่นตามประเพณีเก่าของมอญชายตองอยู่รับใช้งานแก่บิดา
มารดาหญิงมีกำหนด 3 ปีจึงแต่งงานกันได้ หรือประเทศเขมรก็มีประเพณีทำนองเดียวกัน เจ้าบ่าว
ต้องไปอยู่บ้านพ่อของหญิงเรียกว่า “เธวอบาเรอ” แปลว่ารับใช้งาน ประเพณีอย่างนี้ปรากฏว่ามีอยู่
ทั่วไปในชนชาติชาวต่าง ๆในแหลมอินโดจีน รวมถึงปรากฏพบเห็นในประเทศไทยด้วยเช่นเดียวกันโดยปรากฏหลักฐานในกฎหมายลักษณะผัวเมีย เช่นในมาตรา 102 บัญญัติว่า “ชายขอลูกสาวท่านถึง
หลบฝาก ยังแต่จะทำงาน และพ่อแม่หญิงให้ชายฝากบาเรอและทำกินอยู่ด้วยกัน 2 ปี 3 ปี และพ่อแม่
หญิงให้ชายอยู่ด้วยกันไซร้ ท่านว่าเป็นเมียสิทธิแก่เจ้าผัวเหมือนมีทำงาน”

ลักษณะแต่งงานระยะที่สาม คือหญิงชายแต่งงานกันด้วยความรักอันบริสุทธิ์
หากพิจารณาจากลักษณะการแต่งงานตามลักษณะดังกล่าวข้างต้น นอกจากแสดงให้
เห็นถึงสภาพสังคมและภูมิปัญญาของสังคมในแต่ละยุคสมัยแล้วยังสามารถแสดงให้เห็นถึงสภาพ
สังคมและเศรษฐกิจในแต่ล่ะยุคสมัย โดยเริ่มต้นจากสังคมที่ไร้กฎเกณฑ์ พัฒนาเป็นสงคมที่มีการค้าขาย แลกเปลี่ยน มีกฎระเบียบมากยิ่งขึ้น จนไปสู่ยุคของความเชื่อทางศาสนาที่เข้ามามีบทบาทและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในสงคมไปอย่างมาก ดังนั้นแนวความคิดการให้ค่าตอบแทนการสมรสจึงมี
ความเกี่ยวพันกับสภาพสังคมแต่ละยุคสมัยโดยพิจารณาได้จากสิทธิของสตรี สภาพเศรษฐกิจ และ
วัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อทางศาสนา

แนวความคิดให้เรื่องการให้ค่าตอบแทนการสมรสั้นนปรากฏหลากหลายทฤษฎีที่ต่างกัน
ไปโดยบางแห่งให้เหตุผลว่า ราคาเจ้าสาวนั้นถือเป็นค่าชดเชยจากการที่ครอบครัวฝ่ายเจ้าสาวต้อง
สูญเสียลูกสาวไป หรือบางทฤษฎีให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการยืนยันว่าเจ้าสาวจะได้รับการดูแลจาก
เจ้าบ่าวเป็นอย่างดี หรือเพื่อให้เจ้าสาวจะได้รับความเคารพจากคนในครอบครัวเจ้าบ่าว 3 หรือหากพิจารณาในแง่ของประวัติศาสตร์ของโรมันก็มีการให้เหตุผลในเรื่องการให้ค่าตอบแทนการสมรสั้นนมา
จากการที่หญิงไม่มีสิทธิในการได้รับมรดกจากครอบครัวที่ตนกำเนิดดังนั้นสินสอดจึงเป็นการมอบ
ให้แก่หญิงเพื่อเป็นการถ่ายเททรัพย์มรดกจากครอบครัวที่ให้กำเนิดตน แต่สำหรับแนวคิดเรื่อง
ค่าตอบแทนการสมรสในประเทศไทยนั้น ปรากฏในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยกฎหมายบัญญัติไว้ใน มาตาม 1437 สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญ
ธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส กล่าวคือให้เป็นค่าสิน
หัวบัวนาง 4 หรือค่าน้ำนมแม่เจ้าสาวนั้นเอง โดยแนวความคิดในบทบัญญัตินี้คงเป็นมรดกที่ได้รับต้อมา
จากกฎหมายเก่า คือกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งมีการใช้ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ในช่วงระยะ พ.ศ. 1857 – พ.ศ. 1912 นอกจากนี้แล้วหากพิจารณาให้ถ่องแท้เรื่องของ
สินสอดในประเทศไทยนั้น แสดงให้เห็นถึงอำนาจของผู้ปกครองที่มีอยู่เหนือบุตรสาว ในการเลือกชาย
ที่จะมาเป็นเขยในครอบครัวด้วยอีกประการหนึ่ง