วิวัฒนาการเรื่องสินสอดตามกฎหมายไทย

สืบเนื่องมาจากความเชื่อในเรื่องของสินสอดนั้นเป็นมรดกตกทอดทางความคิดที่มาจาก วัฒนธรรม ประเพณีของไทยแต่โบราณ การย้อนกลับไปสืบค้นต้นตออันเป็นที่มาของเรื่องสินสอดตาม กฎหมายไทยในปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อจะได้เห็นแนวคิดและวิวัฒนาการของกฎหมายในแต่ละ ยุคสมัย จากการที่ในอดีตนั้นพื้นที่ประเทศไทยได้มีการแบ่งแยกการปกครองออกเป็นหลายอาณาจักร เช่น อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรอยุธยา เป็นต้น ดังนั้นในเรื่องของการ ปกครองของแต่ละอาณาจักรที่มีความแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย สามารถสะท้อนให้เห็นจาก บทบัญญัติของกฎหมายที่แตกต่างกันออกไป โดยในภาพกว้างๆอาจจะเห็นได้ว่ากฎหมายเรื่องสินสอด ที่มีอยู่ก่อนประมวลกฎหมายและพาณิชย์เป็นอย่างไร และภายหลังมีการบังคับใช้ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์เป็นอย่างไร โดยผู้เขียนแบ่งลำดับการอธิบายโดยจัดเรียงตามยุคสมัยดังจะกล่าวใน หัวข้อต่อไป

3.1.1 ก่อนมีการบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3.1.1.1 กฎหมายล้านนา
อาณาจักรล้านนาเป็นอาณาจักรที่อยู่ตอนเหนือของไทยมีความ เจริญรุ่งเรืองมาก นับตั้งแต่มีการก่อตั้งโดยพระยามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย โดย อาณาจักรล้านนามีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดในบริเวณภาคเหนือในปัจจุบัน รวมทั้งพม่า ลาว และจีนตอนใต้ ล้านนาจึงเป็นสังคมใหญ่มีประชากรมากมาย การควบคุมคนโดยอาศัยจารีตประเพณี ของแต่ละหมู่บ้าน ย่อมไม่ก่อเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระองค์จึงทรงรวบรวมกฎหมาเก่าที่ ปฏิบัติสืบต่อมาครั้งบรรพชน เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรเรียกว่า กฎหมายมังรายศาสตร์หรือ วินิจฉัยมังราย1 ซึ่งลักษณะของมังรายศาสตร์นั้นคล้าย ๆ กับ นำเอาคำพิพากษา หรือ นำเอาคำชี้ขาด

ตัดสินคดีบัญญัติใหม่ โดยนำมาเรียบเรียงตามมาตรา ๆ จัดหมวดหมู่เป็นเรื่อง ๆ เป็นลักษณะทั่วไป ดังนี้2
กฎหมายพระเจ้ามังราย 27 ประการ3

  1. หนีศึก
  2. คนตายกลางสนามรบ
  3. รบศึกกรณีได้หัวและไม่ได้หัวข้อศึกษา
  4. เสนาอมาตย์ตาย
  5. ให้ไพร่มีเวรผลัดเปลี่ยนกัน
  6. ไพร่กู้เงินขุน
  7. ไพร่สร้างไร่นา
  8. ไพร่ที่ขุนไม่ควรรับเป็นข้า
  9. ข้าขอรับมรดก
  10. ข้าพระยาไปอยู่กินกับไพร่
  11. ลักษณะนายที่ดีและนายที่เลว
  12. ความผิดร้ายแรงซึ่งยอมให้ข้าผู้กระท˚าผิดได้
  13. โทษประหารชีวิต
  14. โทษหนักสามสถาน
  15. การพิจารณาความให้ดูเหตุ 4 ประการ
  16. ตัดสินความไม่ถูกต้องอันควรเพิกถอนเสีย 8 ประการ
  17. อายุความยี่สิบปี
  18. สาเหตุวิวาทกัน 16 ประการ
  19. ลักษณะหมั้น
  20. ลักษณะหย่า
  21. การแบ่งสินสมรส
  22. ลักษณะมรดก
  23. ลักษณะหนี้
  24. ลักษณะวิวาท (ด่ากันตีกัน)
  25. ลักษณะใส่ความกัน
  26. ลักษณะทรัพย์และลักพา
  27. ลักษณะซ่อนอำและลัก สังคมล้านนาถือชายเป็นส่วนประกอบของครอบครัวฝ่ายหญิง มีลักษณะ เป็นสังคมชาวบ้านชายเป็นผู้จัดการกิจการงานภายนอกบ้านทั้งปวง ส่วนอำนาจจัดการดูแลทรัพย์สิน ทั้งปวงเป็นของฝ่ายหญิง นอกจากนี้แล้วผู้หญิงในสังคมล้านนายังมีสิทธิได้รับมรดก ตลอดจนเหตุหย่า จากการที่อยู่ด้วยกันไม่ได้ ซึ่งแสดงว่าในสังคมล้านนาให้ความสำคัญกับสิทธิสตรีพอสมควร แต่อย่างไร ก็ตามภายหลังที่กฎหมายล้านนาดีได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์ และคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ พระพุทธศาสนาจากอินเดีย แนวคิดการคุ้มครองสตรีอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง โดยเฉพาะแนวคิดด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาในระบบการแต่งงานแบบผัวเดียวหลายเมีย ที่กำหนดให้สตรีต้อง เคร่งครัดต่อหน้าที่ภรรยาแต่ฝ่ายเดียว ในด้านการเลือกคู่ครองนั้นหญิงต้องอยู่ภายใต้อำนาจของ ผู้ปกครองดังปรากฏให้เห็นได้ในบทบัญญัติเรื่องการหมั้นดังนี้
  28. ลักษณะหมั้น (หมาย) ลูกสาวหลานสาวท่านมีดังนี้ หากเจ้าขุนหรือผู้ดี
  29. หมั้นไว้เดือนหนึ่ง จะไปแต่งงาน (สู่) ก็ให้เป็นไปตามนั้น กรณีนายสิบนายกว้านก็ให้ทำตามคำพูดที่ กำหนดไว้สองหรือสามเดือน หากพ้นก˚าหนดไม่บอกกล่าวให้ทราบและไม่ไปแต่งงาน ได้แต่กันท่าฝ่าย
  30. หญิงนั้นผู้มาหมั้นคนเดิมจะว่ากล่าวอะไรมิได้
  31. “มาตรา 1 ผู้ชายเอาของไปหมั้นลูกหลานท่าน พ่อแม่ก็ยินยอม เจ้าตัวไม่ ยินยอมจึงหนีไปอยู่ยังที่ตัวชอบใจให้ไหมค่าห่อข้าวหมาก (ขันหมาก) 11,000 เบี้ย
  32. ผิไปหมั้นเจ้าตัวแล้วพ่อแม่ยินยอม และส่งค่าตัวแล้ว ภายหลังสาวไม่ ยินยอมหนีไป ให้ไหม ค่าหาอหมาก 22,000 เบี้ย เงินค่าตัวสาวนั้นให่ส่งคืน ส่วนผู้ชายซึ่งพาสาวนั้นหนี
  33. ไป ให้ไหมมัน 55,000 เบี้ย ในกรณีที่ไม่ทราบว่าหญิงนั้นมีคู่หมั้นแล้ว แต่ถ้าทราบก็ให้ไหม 110,000 เบี้ย
  34. ผิเจ้าตัวและพ่อแม่ไม่ยินยอม อย่าให้ถือเป็นการหมั้น หากสาวหนีไป แต่งงานที่บ้านอื่นอย่าว่าอะไรเพียงแต่ให้คืนค่าของฝากเท่านั้น
  35. ตามบทบัญญัติข้างต้นทั้ง การที่ชายเดินทางมาหมั้นหมายหญิง เห็นว่า อำนาจตัดสินใจส่วนหนึ่งอยู่กับพ่อแม่หญิงเป็นส่วนสำคัญ โดยพิจารณาถึงความยินยอมของพ่อแม่ หญิง นอกจากนั้นแล้วกฎหมายได้กำหนดความรับผิดของพ่อแม่ฝ่ายหญิงไว้ หากพ่อแม่นั้นยินยอมให้ หมั้นหมายแต่หญิงไม่ยินยอม พ่อแม่ต้องรับผิดจ่ายค่าไหม จำนวน 11,000 เบี้ย หรือ 22,000 เบี้ย แล้วแต่กรณี ข้อที่น่าสังเกตคือ กฎหมายไม่ได้บัญญัติเรื่องสินสอดไว้แต่อย่างใด แต่มีถ้อยคำว่า ค่าห่อ ข้าวหมาก (ขันหมาก) เงินค่าตัวสาว และค่าของฝาก การหมั้นหมายจึงต้องประกอบด้วยค่าใช้จ่ายทั้ง 3 ส่วน ซึ่งเงินค่าตัวสาวนี้อาจเชื่อได้ว่ามีลักษณะเช่นเดียวกับสินสอดตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
  36. ในเรื่องของการแบ่งสินสมรส ก็แสดงให้เห็นถึงอำนาจของพ่อแม่หญิงใน การตัดสินใจให้หญิงแต่งงานกับชายเช่นกัน ดังความที่ปรากฏดังนี้7
  37. “ถ้าพ่อแม่หญิง ขายลูกสาวไปอยู่เรือนสามี เมื่อจะหย่ากันให้คืนค่า ผู้หญิงตามข้อตกลงที่มีไว้เดิม สมบัติที่หาได้ด้วยกันให้แบ่งเป็น 3 ส่วน ชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ส่วนหนึ่ง ถ้าหญิงไม่ช่วยทำมาหากินหย่าแบ่งสมบัติให้ ลูกหญิงชายให้เป็นของสามี แต่ถ้ามาอยู่เรือนสามีเป็น เวลานานมาก จะเรียกค่าหญิงคืนตามที่ตกลงกันไม่ได้….”
  38. และอีกบทบัญญัติหนึ่งความว่า “สามีซื้อภริยาไว้แล้ว ละทิ้งภรรยาไปมี ภรรยาใหม่ หญิงจะขอคืนค่าตัวก็ไม่ยอมรับ พอครบ 3 ปี ได้ตัดสินว่าหย่ากัน ให้หญิงคืนค่าตัวตามที่ ตกลง (ไว้เดิม)นั้นเถิด”
  39. จากบทบัญญัติข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่าพ่อแม่ให้ลูกสาวแต่งกับชายและ ให้ไปอยู่เรือนสามี อีกทั้งได้ทำข้อตกลงไว้ล่วงหน้าเรื่องการคืนค่าตัวผู้หญิง ถือเป็นการขายลูกสาว ซึ่ง เงินค่าตัวหญิงนี้เป็นค่าตอบแทนการสมรสเสมือนในอารยธรรมของต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ดีผู้เขียน มีความเห็นว่าจากลักษณะเนื้อหาของกฎหมายข้างต้นทั้งหมดนี้ กฎหมายให้ความสำคัญกับฝ่ายชาย