วิวัฒนาการของการให้ค่าตอบแทนการสมรสตามประวัติศาสตร์ต่างประเทศ

  1. 2.4 วิวัฒนาการของการให้ค่าตอบแทนการสมรสตามประวัติศาสตร์ต่างประเทศ
  2. 2.4.1 กลุ่มที่มีการให้ค่าตอบแทนการสมรสจากฝ่ายชาย
  3. 2.4.1.1 อารยธรรมในตะวันออกโบราณ กรีก และ โรมัน13
  4. การมอบค่าตอบตอบแทนการสมรสนั้น ปรากฏในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี กษัตริย์ยุคบาบิโลน ในช่วงระยะเวลาระหว่าง 2200 ปีก่อนคริสตกาล ถึง คริสต์ศักราชที่ 70 โดยในยุค นั้นได้มีการใช้ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammu-rabi) ในหมู่ชาวกลุ่มเมโสโปเตเมีย โดยในบทบัญญัติส่วนใหญ่ของประมวลกฎหมายนี้ เป็นการจัดการในด้านกฎหมายครอบครัว กล่าวคือ การกำหนดสถานะของผู้หญิง การแต่งงาน มรดก เป็นต้น ในสังคมยุคนั้น ยอมรับให้ชายที่ฐานะ ร่ำรวยเท่านั้นที่สามารถมีภรรยาได้หลายคน แต่อย่างไรก็ดีภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายจะมีได้เพียง คนเดียว ในเรื่องของการเตรียมพิธีแต่งงานเริ่มต้นจากครอบครัวเจ้าบ่าวต้องมีของหมั้น (biblum) โดย ปกติเป็นเงินสดให้กับครอบครัวของเจ้าสาว และราคาเจ้าสาว (terhatum) ในขณะที่พ่อของเจ้าสาวก็ จะเตรียมทรัพย์สินมามอบให้เจ้าสาว (sheriktum)14 อีกส่วนหนึ่ง โดยทรัพย์สินที่นำมามอบให้อาจ ประกอบด้วยที่ดิน ทาส อัญมณี เครื่องมือ และเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งถ้าหากถ้าสามีเสียชีวิตหรือหย่าร้างกับ ภรรยา ตัวอย่างเช่น สามีอาจหย่ากับภรรยาที่ไม่สามารถมีลูกให้กับเขาได้ และกรณีเช่นนี้ภรรยามีสิทธิ ที่จะเก็บทรัพย์สินที่ได้จากการสมรสทั้งหมด
  5. สำหรับในกรีก ได้มีการกล่าวถึงเรื่อง ราคาเจ้าสาว ไว้ในวรรณกรรมของ โฮเมอร์ (Homer) ชื่อเรื่องว่า อิเลียด (Iliad) และ โอดีสซีย์ (Odyssey) โดยได้ประพันธ์ในช่วง ระยะเวลาปลายศตวรรษที่ 9 ถึง ต้นศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งมีการกล่าวถึงลักษณะที่ เจ้าบ่าวจะต้องจ่ายราคาเจ้าสาว (h`edna) โดยเป็นการจ่ายให้แก่ครอบครัวของเจ้าสาว ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นการมอบปศุสัตว์ให้ และนอกจากนั้นเจ้าบ่าวต้องมีของขวัญให้กับเจ้าสาว อันเป็นของที่ นอกเหนือจากที่พ่อเจ้าสาวนำมามอบให้แก่เจ้าสาวในการแต่งงาน ลักษณะดังกล่าวนี้ได้ดำเนินไป จนกระทั่งถึงกรีกยุคคลาสสิก (ศตวรรษที่ 4 และ 5 ก่อนคริสตกาล) เรื่องราคาเจ้าสาวได้หายไปจาก เมืองหลวงของกรีซ และถูกแทนที่ด้วยการที่ฝ่ายหญิงเป็นผู้มอบสินสอดให้แก่ฝ่ายชาย โดยลักษณะ สินสอดที่เกิดขึ้นยุคคลาสิคของกรีก นั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ Proix ซึ่งใช้สำหรับสินสอดที่มีการ มอบให้ชาวกรีกด้วยกัน และอีกประเภทคือ phern ซึ่งเป็นเรื่องของความเชื่อปรัมปรา หรือใช้กับคน ที่ไม่ใช่ชาวกรีก15 ส าหรับชาวกรีกในเอเธนส์ทรัพย์สินที่เป็นสินสอด (proix) โดยทั่วไปมักใช้เป็น ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้ หรืออาจใช้เป็นเงินสด อย่างไรก็ตามนอกจากการนำทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้มาเป็น สินสอดแล้ว ยังมีการนำอสังหาริมทรัพย์ใช้เป็นสินสอดร่วมด้วยเพื่อใช้เป็นหลักประกัน ซึ่งในช่วงเวลา ของการแต่งงานบิดาไม่ได้จ่ายค่าสินสอดทุกครั้ง และถ้าในท้ายที่สุดแล้วหากบิดาไม่จ่ายค่าสินสอด ทั้งหมด ลูกสาวจะได้รับอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นค่าทดแทนสินสอด16 ดังนั้นอาจกล่าวสรุปได้ว่า สินสอดในสังคมกรีกนั้น สินสอดมีไว้สำหรับการดูแลผู้หญิง หากเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้น เช่น สามี ของหญิงนั้นก่อหนี้สิน และเจ้าหนี้เข้ามาดำเนินการยึดทรัพย์สิน หากพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นส่วน สินสอดของภรรยา จะได้รับการยกเว้นไม่ให้เจ้าหนี้ยึดไปด้วย
  6. ในช่วงระยะเวลาประมาณศตวรรษที่สอง โรมได้มีการเปลี่ยนแปลง กฎหมายครอบครัว ซึ่งในขณะนั้นผู้หญิงที่ได้แต่งงานแล้วจะถูกตัดออกจากการเป็นทายาทของ ครอบครัวเดิมของตนเอง และอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมของสามี (Cum Manu) ดังนั้นเรื่องของ สินสอด (dowries) ที่ผู้หญิงนั้นได้รับจึงตกเป็นทรัพย์สินของสามี และหากเมื่อสามีภรรยาขาดจากการสมรสกัน ภรรยาและบุตรมีสิทธิ์ได้รับมรดกซึ่งเป็นทรัพย์สินของสามีเป็นส่วนเท่าๆกัน เรื่องนี้แตกต่าง กับช่วงศตวรรษแรกนั้น เมื่อผู้หญิงได้แต่งงานแล้ว สิทธิในการจัดการทรัพย์สินจะตกอยู่แก่สามี แต่ อย่างไรก็ดีหญิงนั้น ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของพ่อ (Sine Manu) ดังนั้นภรรยาจึงมีสิทธิได้รับ มรดกจากครอบครัวที่เธอเกิด และเมื่อเกิดกรณีการสมรสสิ้นสุดลง สามีคงมีหน้าที่ต้องคืนสินสอด (dowries) ให้แก่ครอบครัวของผู้หญิงนั้นในยุคปลายของจักรวรรดิ ช่วงระยะเวลาประมาณคริสต์ศตวรรษที่สาม เรื่องของขวัญแต่งงานถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสามีที่ต้องมอบให้ภรรยา (donatio ante หรือ propter nuptias) ก่อนที่จะมีการสมรส และนับเป็นเรื่องที่แพร่หลายมากในสังคมยุคนั้น
  7. 2.4.1.2 อารยธรรมในยุโรปตะวันตก19
  8. รูปแบบทั่วไปของการแต่งงานและการโอนถ่ายเรื่องการแต่งงานที่เกิดขึ้น ของประเทศภาคพื้นยุโรปตะวันตก ในช่วงครึ่งหลังของสหัสวรรษแรกดูเหมือนจะเป็นภาพที่สะท้อนถึง อิทธิพลทางประเพณีและกฎหมายโรมัน ในสมัยโบราณท่ามกลางอนารยชนเผ่าเยอรมัน การแต่งงาน นั้นฝ่ายเจ้าบ่าวมีหน้าที่ต้องจ่ายราคาเจ้าสาวให้กับพ่อแม่ของเจ้าสาว ทั้งนี้เนื่องจากในสังคมยุคนั้น ผู้หญิงที่ทำฟาร์มและท างานบ้าน ไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นๆได้ และได้รับการ ยกเว้นจากการได้รับทรัพย์สินจากครอบครัวที่ให้กำเนิด และจากการแต่งงานระหว่างคนที่ต่างเชื้อชาติ ศาสนาและสังคมที่ต่างกัน ระหว่างคู่สมรสเชื้อสายเยอรมันและโรมันซึ่งเป็นการผสมผสานมรดกทาง วัฒนธรรมในทางตรงกันข้ามเข้าด้วยกันและเป็นการนำมาซึ่งสิทธิทางเศรษฐกิจของสตรีที่มีเข้มแข็ง ความเข้มแข็งขึ้น ในรัชสมัยของ Visigothic แห่งประเทศสเปน และส่งผลไปทั่วทั้งในประเทศฝรั่งเศส และเยอรมนี อิตาลีและอาณาจักรแองโกลแซ็กซอนในประเทศอังกฤษ แต่กระบวนการหลอมรวม ประเพณีที่แตกต่างกันเกิดขึ้นแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่
  9. ระหว่างศตวรรษที่สิบหก ผู้หญิงจะได้รับโอนทรัพย์สมบัติมากมายจาก ครอบครัวที่ให้กำเนิดและจากสามีของตนเองด้วย และเมื่อแต่งงานแล้วผู้หญิงจะย้ายไปอยู่ใน ครอบครัวของสามีและจะได้รับสินสอด (dowries) อันมีลักษณะเป็นการที่ครอบครัวหญิงมอบให้แก่
  10. ตัวหญิงที่แต่งงานออกจากครอบครัว (การมอบค่าตอบแทนการสมรสนี้อยู่ภายใต้กฎหมายของชาว โรมัน) หรือเงินช่วยเหลือของบิดาซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวเดิมของหญิงนั้น (เป็นไปตามกฎหมาย เยอรมันดั้งเดิม) นอกจากนี้พวกเขายังสามารถรับมรดกของครอบครัวที่ให้กำเนิดได้ ซึ่งมรดกที่ลูกสาว จะแตกต่างกันไปตามระบบทั้งสอง ในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่แตกต่างกับกฎหมายดั้งเดิมซึ่งลูกสาวไม่สามารถ รับมรดกที่ดินจากครอบครัวที่ให้กำเนิดได้
  11. 2.4.1.3 อารยธรรมในกลุ่มประเทศอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามช่วงเก้าศตวรรษแรกของศาสนาอิสลามการแต่งงานนับเป็นการถ่ายโอน ความมั่งคั่งลักษณะหนึ่ง กล่าวคือ ครอบครัวเจ้าสาวได้รับค่าตัวเป็นราคาเจ้าสาว โดยถือว่าเป็นการ ชดเชยการสูญเสียลูกสาว ในสังคมอาหรับก่อนอิสลาม มะฮัร ถือว่าเป็นทรัพย์สินของผูปกครองของ ฝ่ายหญิง แต่ในภายหลังแนวคิดได้เปลี่ยนแปลงไปโดยเจ้าบ่าวจะทำสัญญาว่าจะให้มะฮัรกับภรรยา ในระหว่างและ / หรือเมื่อสิ้นสุดการสมรส และในขณะเดียวกันครอบครัวของเจ้าสาวยังให้ทรัพย์สิน แก่ลูกสาวของพวกเขาติดตัวไปด้วยในขณะที่เธอแต่งงานอิสลามได้ยกฐานะของสตรีด้วยการถือว่าการให้มะฮัรเป็นสัญลักษณ์ของ การให้เกียรติแก่สตรีถึงแม้ว่าการแต่งงานต้องสิ้นสุดด้วยการหย่าแต่มะฮัรก็ยังคงเป็นทรัพย์สินของ ภรรยาและสามีไม่มีสิทธิเอากลับคืน ยกเว้น ในกรณีของคุลอฺที่การหย่าเกิดขึ้นตามคำขอของภรรยาซึ่ง นางจะต้องคืนมะฮัรฺบางส่วนหรือทั้งหมดที่นางได้รับเนื่องจากการแต่งงานกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มะฮัร เป็นเงิน หรือทรัพย์จำนวนหนึ่งหรือที่สามีสัญญาว่าจะจ่ายให้แก่ภรรยาเนื่องการแต่งงาน แนวความคิดเช่นนี้ยังมีส่วนคล้ายคลึงกับแนวคิดของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศไทยในยุค ปัจจุบัน ดังที่ ยศวดี บุณยเกียรติ และ วัลลภา นีละไพจิตร ได้ให้คำอธิบายไว้ดังนี้เมื่อชายและหญิงจะร่วมชีวิตด้วยกันโดยการแต่งงานนั้น ตามค่านิยมของ สังคมมุสลิมหญิงพึงได้รับ “ของขวัญ” จากฝ่ายชาย ซึ่งเรียกกันว่า มะฮัร (mahr, mehr หรือ meher) ของขวัญนี้อาจจะเป็นสิ่งของที่มีค่า อสังหาริมทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ในการลงทุน ซึ่งมุสลิมไม่ถือว่าเป็น “ค่าตัว” ของเจ้าสาว และก็อาจจะมีการระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า มะฮัร ที่จะได้รับนี้จะ แบ่งออกเป็นมากกว่าหนึ่งส่วนก็ได้ คือส่วนหนึ่งจะได้เมื่อแต่งงาน และส่วนที่เหลือจะได้รับเมื่อเธอเป็น ม่ายโดยการหย่าร้างหรือเมื่อสามีตาย ดังนั้น มะฮัร จึงเปรียบเสมือนเป็นหลักประกันให้กับฝ่ายหญิง มากกว่าสินสอดหรือสินสมรส”
  12. 2.4.1.4 อารยธรรมจีน
  13. การจัดพิธีแต่งงานของชาวจีนก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ยุคนั้นยังจัดกันอย่าง เรียบง่ายและค่อนข้างเคร่งครัดในเรื่องจารีต บันทึกตอนหนึ่งในคัมภีร์เกี่ยวกับพิธีกรรมหลี่จี้ของขงจื๊อ บรรยายสภาพการแต่งงานไว้ว่า “บ้านที่แต่งลูกสาว ไม่ดับเทียน 3 วัน เพื่อเป็นการหวนรำลึกถึงการ พรากจากกัน ขณะที่บ้านเจ้าบ่าว จะไม่จัดงานเอิกเกริกใน 3 วัน เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ” (แสดงให้ เห็นว่าการแต่งงานมีไว้เพื่อดำรงวงศ์ตระกูล)ครั้นถึงราชวงศ์จิว ในสมัยพระเจ้าจิวเซ่งอ๋อง ได้มีการ จัดตั้งลัทธิธรรมเนียม สำหรับประชาชนพลเมืองขึ้น โดยเรื่องของพิธีแต่งงานบ่าวสาวก็เป็นส่วนหนึ่งใน ลัทธิธรรมเนียมที่มีการจัดตั้งขึ้น ซึ่งพิธีการแต่งงานจีนในสมัยโบราณ จะสามารถแบ่งได้เป็น 6 ระยะ ด้วยกัน ดังนี้
  14. พิธีระยะที่ 1 การสู่ขอ คือ การที่มารดาพอใจหญิงใดและต้องการให้เป็น ภรรยาของลูกชายตนเอง ก็จะมีการให้คนกลางเป็นแม่สื่อในการไปเจรจา หากฝ่ายหญิงตกลงจะ แต่งงานด้วยก็จะมีการมอบ “นกหงัน” (นกหงัน รูปคล้ายห่าน นกชนิดนี้ไปไหนไม่ทิ้งกัน) เป็นของ หมั้นไปให้แก่ผู้ปกครองฝ่ายหญิง
  15. พิธีระยะที่ 2 การถามถึงวันเดือนปีเกิดและชื่อ ซึ่งจะกระทำโดยผู้แทนจาก ฝ่ายชายที่จะไปขอจด เวลา วัน เดือน ปีเกิด ของหญิงลงในเทียบเพื่อนำไปให้แก่ผู้ปกครองฝ่ายชาย นำรายการที่บันทึกได้ในเทียบไปเสี่ยงทาย ณ ที่บูชาบรรพบุรุษ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ไม่ต้องการ ให้การแต่งงานกันเองในสายเลือดที่ใกล้เคียง
  16. พิธีระยะที่ 3 การหาฤกษ์ยามกำหนดวันแต่งงาน ซึ่งจะกระทำโดยผู้แทน จากฝ่ายชายจะมีการนำหงันพร้อมเทียบนัดวันศุภมงคลไปให้ผู้ปกครองฝ่ายหญิง และเมื่อ
  17. ผู้ปกครองฝ่ายหญิงรับและกล่าวคำรับรองตามฤกษ์ยามในเทียบที่ส่งมานั้นก็ถือเป็นการรับคำมั่น สัญญาแล้ว
  18. พิธีระยะที่ 4 รับสินสอด กระทำโดยผู้ปกครองฝ่ายชายจัดสินสอด ผ้าแพรสี ดำและสีตากุ้ง 10 ม้วน หนังกวาง 2 ผืน ถ้าไม่มีให้เอาหนังแพะหรือหนังแกะแทนก็ได้ ของเหล่านี้ถือ เป็นสินสอดที่ใช้ในพิธีหมั้น โดยมากจะให้ของแต่ละชนิดเป็นจำนวนคู่ เพื่อความหมายที่เป็นมงคล แล้วมอบให้ผู้แทนเอาไปให้แก่ผู้ปกครองฝ่ายหญิง
  19. พิธีระยะที่ 5 กำหนดวันแต่งงาน ฝ่ายชายเชิญหมอดูมากำหนดฤกษ์วันแต่ง ที่ต้องให้ความสำคัญกับกระบวนนี้ เพราะเชื่อว่าการจัดงานจะดำเนินไปอย่างราบรื่น หลังจากที่ กำหนดวันแต่งแล้ว ก็จะแจ้งให้ฝ่ายหญิงได้เตรียมตัว
  20. พิธีระยะที่ 6 รับมอบตัวเจ้าสาว คือ การที่เจ้าบ่าวรับมอบตัวเจ้าสาว โดยใช้ รถหรือเกี้ยวที่มีม่านกำบัง เมื่อเวลาออกเดินจะมีคนถือไฟนำหน้า และเมื่อบ่าวสาวได้ทำพิธีแต่งงาน ครบทั้ง 6 ขั้นตอนแล้วถือว่าการแต่งงานเป็นอันเสร็จสมบูรณ์
  21. นอกจากพิธีแต่งงานบ่าวสาวจีนโบราณดังได้อธิบายไว้ข้างต้นแล้ว เมื่อยุค สมัยเปลี่ยนไปก็สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมที่เริ่มเปลี่ยนไปเช่นกัน โดยพิธีแต่งงานมีลักษณะมีการย่อพิธี การแต่งงานให้เกิดความกระชับลง โดยรวมพิธีจากเดิม 6 ขั้นตอนให้เหลือเพียง 3 ขั้นตอน ดังเช่นการ แต่งงานบ่าวสาวของชาวเมืองเตี้ยจิวในแผ่นดินไต้เซ็ง มณฑลกวางตุ้ง มีต่างกัน 2 พวก โดยทีทั้งกลุ่มที่ นิยมพิธีแบบเก่า และอีกกลุ่มหนึ่งที่นิยมพิธีตามแบบใหม่ ในเรื่องของสินสอดขันหมากหมั้นนั้น จีน ชาวเมืองเตี้ยจิวชุดเก่าจะกำหนดสินสอดตามประเพณีเพียง 20 ตำลึงเป็นอย่างมากนอกจากสินสอด จำนวนนี้แล้วเลี่ยงไปเกณฑ์เอาขนมกันเป็นจำนวนหลายร้อยชั่ง และตีราคาขนมหนัก 100 ชั่ง เป็นเงิน 60 เหรียญ หรือ 40 เหรียญ เป็นอย่างน้อย ส่วนขันหมากในวันนั้น ไม่มี มีแต่ขนมต่างๆจัดเป็นที่ๆ จนถึงยุคซียิดที่ 5 จึงได้จัดหมากพลูไปพร้อมกับสิ่งของต่างๆในวันนั้น ดังนั้นหากนำประเพณีแต่งงาน บ่าวสาวชาวจีนโบราณมาเปรียบเทียบกับการแต่งงานในสมัยนี้ โดยมาผู้หญิงเรียกค่าสินสอดสูงตามใจ ชอบ จึงอาจมีการต่อรองกันซึ่งคล้ายกับลักษณะของการซื้อขาย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ลักษณะสู่ขอหญิง มาเป็นภรรยาก็ชื่อว่าไม่ใช่ประเพณีเก่า
  22. 2.4.2 กลุ่มที่มีการให้ค่าตอบแทนการสมรสจากฝ่ายหญิง
  23. 2.4.2.1 อารยธรรมที่นับถือศาสนาฮินดู
  24. พิธีแต่งงานสมัยพระเวทแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ พิธีเบื้องต้น ซึ่งเป็นการ เลือกเจ้าบ่าวเจ้าสาว พิธีนี้ในสมัยฤคเวทนั้นไม่มีความส าคัญ ต่างจากสมัยหลังโดยเฉพาะในสมัยสูตร ซึ่งได้กำหนดขั้นตอนไว้โดยละเอียด ทั้งนี้เนื่องจากใจสมัยฤคเวท ชายหนุ่มหญิงสาวมีโอกาสเลือก คู่ครองตนเองได้อย่างเต็มที่ บิดาหรือผู้ปกครองเป็นแต่เพียงให้ความเห็นชอบ แล้วจัดงานแต่งงานตาม ธรรมเนียมของสังคมเท่านั้น ส่วนในสมัยหลังธรรมเนียมได้เปลี่ยนไป ผู้ปกครองเป็นผู้จัดการเลือก คู่ครองแก่บุตร ลำดับถัดมาเป็นขั้นตอนการสู่ขอ โดยหน้าที่ในการสู่ขอเจ้าสาวเพื่อแต่งงานเป็นหน้าที่ ของชายผู้เป็นเจ้าบ่าวเอง คือเมื่อชายพอใจแล้วชายก็ไปสู่ขอหญิงต่อหน้าผู้ปกครองเธอ แต่ในช่วงหลัง พระเวทเป็นต้นมา เมื่อผู้ปกครองเป็นผู้จัดการเรื่องแต่งงานให้แก่บุตร การแต่งงานจึงมักเกิดขึ้นโดย ผ่านคนกลาง หรือพ่อสื่อ30
  25. เมื่อการติดต่อทาบทามของพ่อสื่อเป็นที่ยอมรับแล้ว เจ้าบ่าวจึงไปขอ เจ้าสาวต่อปกครองของเธอในภายหลัง ในสมัยพระเวทไม่ปรากฏว่ามีธรรมเนียมการหมั้นซึ่งในสมัย หลังถือว่าเป็นพิธีส าคัญพิธีหนึ่ง เรียกว่า พิธีวาคทาน คือ การยกให้ด้วยวาจา ซึ่งเป็นการที่ฝ่าย ผู้ปกครองหญิงยอมรับข้อเสนอของฝ่ายชายและสัญญาจะยกลูกสาวให้แต่งงาน ในสมัยพระเวทถึงสมัย สูตรนั้น ฝ่ายชายเป็นผู้ส่งพ่อสื่อไปติดต่อทาบทามฝ่ายหญิง แต่ในสมัยหลังจนถึงสมัยใหม่ มีธรรมเนียม ว่า วรรณะพราหมณ์ หรือวรรณะอื่นๆส่วนมาก บิดาของเด็กหญิงเป็นผู้เสาะหาตัวเจ้าบ่าวให้แก่ลูกสาว เพราะการเสนอขอแต่งงานมาจากฝ่ายหญิง
  26. รูปแบบการแต่งซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์สมัยหลังพระเวท โดยได้มีการ จำแนกรูปแบบการ แต่งงานไว้ด้วยกัน 8 ชนิด ซึ่งได้แก่
  27. การแต่งงานแบบพรหม (พราหมวิวาหะ) หมายถึง การแต่งงานที่ได้ หมั้นกันเรียบร้อยด้วยทรัพย์และมีการท าพิธีถูกต้องทางศาสนา
  28. แบบเทพ (ไทววิวาหะ) คือการวิวาห์ที่บิดามารดายกธิดาให้แก่พระผู้ทำ
    พิธีในฐานะแทนค่าจ้าง
  29. แบบฤษี (อารษวิวาหะ) คือการวิวาห์ที่มีสินสอดเป็นแม่โคหรือพ่อโค
  30. แบบประชาบดี “ปราชาปัตยวิวาหะ” คือการวิวาห์ที่บิดามารดายกธิดา ให้เจ้าบ่าวโดยไม่เรียกร้องค่าสินสอดใดๆ
  31. แบบอสูร “อาสุรวิวาหะ” คือการวิวาห์ด้วยการซื้อขายเหมือนสินค้า
  32. แบบคนธรรพ์ (คานฺธรฺวิวาห) คือการวิวาห์ด้วยการพึงพอใจของทั้งชาย และหญิงที่จะได้เสียกันเองโดยไม่ต้องขอความยินยอมของฝ่ายหญิง
  33. แบบรากษส “รากษสวิวาหะ” คือการวิวาห์ที่ใช้วิธีตีชิงหรือปล้นเอาโดย
    พละก˚าลัง
  34. แบบปีศาจ “ไปศาจวิวาหะ” หมายถึงการวิวาห์โดยการลักหลับผู้หญิง
    วางยานอนหลับหรือมอมเมาสุรา
    โดยแบบการต่างงานแบบฤษี และแบบอสูร นั้นสะท้อนให้เห็นถึงเรื่อง ของการให้ค่าตัวเจ้าสาวที่เกิดขึ้นในยุคนั้น และนอกจากการแต่งทั้ง 8 แบบดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมี การแต่งงานอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่าการ “สวยมพร” ซึ่งสัมพันธ์กับการแต่งงานแบบคนธรรพ์ หมายถึงการที่เจ้าสาวเลือกสามีเอง
    โดยการแต่งงานแบบพรหม แบบเทพ แบบฤษี แบบประชาบดีเป็นการ แต่งงานซึ่งผู้ปกครองยกเจ้าสาวให้แก่เจ้าบ่าว โดยการแต่งงานทั้ง 4 แบบนี้ เจ้าสาวจะได้รับการ ประดับเครื่องแต่งกายอย่างดีพร้อมทั้งเครื่องประดับอันมีค่า ก่อนจะยกให้เจ้าบ่าว ซึ่งทรัพย์สินหรือ เครื่องประดับที่ติดตัวมานี้ถือเป็นสินเดิมของหญิง โดยการให้สินเดิมในยุคพระเวท เป็นทำนอง เดียวกับการที่เจ้าบ่าวจ่ายค่าตัวเจ้าสาว จนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรื่องการจ่ายสินเดิมของ หญิงเกิดเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นเนื่องจาก มีการจ่ายสินเดิมให้หญิงมากขึ้น ตามฐานะทางสังคมและ เศรษฐกิจของเจ้าบ่าวท˚าให้บิดาของหญิงต้องเดือดร้อนในการหาสินเดิมให้ลูกสาวในเวลาแต่งงาน
  35. แบบฤษี (อารษ) หมายถึง การยกลูกสาวให้แต่งงาน หลังจากที่ได้รับเอาวัวตัวผู้หรือตัวเมีย อย่าละหนึ่งตัวหรือหนึ่งคู่ จากเจ้าบ่าว ซึ่งเท่ากับเป็นค่าตัวของเจ้าสาว แต่ทั้งนี้ไม่ถือว่าเป็นการขายลูก สาว เพราะถือว่าของที่เจาบ่าวให้นั้น เป็นการแสดงมิตรภาพต่อเจ้าสาว
  36. แบบอสูร (อสูร) หมายถึง การยกลูกสาวให้แต่งงาน หลังจากที่เจ้าบ่าวได้ให้ทรัพย์สิน จำนวนมากเท่าที่จะหาได้ จนเป็นที่พอใจแก่บิดา หรือผู้ปกครองของเจ้าสาว หรือแก่เจ้าสาวเอง เท่ากับเป็นการซื้อเจ้าสาว การแต่งงานแบบนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะถือว่าเป็นการขายลูกสาวเพื่อ ทรัพย์
  37.  
  38. ธรรมเนียมเช่นนี้กล่าวได้ว่าเป็นการซื้อเจ้าบ่าว ทำนองเดียวกับการจ่ายค่าตัวเจ้าสาวเป็นการซื้อ เจ้าสาวนั่นเอง
  39. นักประวัติศาสตร์ได้มีการติดตามประเพณีของสินสอดทองหมั้นตาม แนวคิด kanyadana (ค˚าว่า “kanya” หมายถึงเจ้าสาวและ “dana” หมายถึงการให้ไป ในประเพณีนี้ พ่อแม่ของเจ้าสาวเสนอลูกสาวของพวกเขาในการแต่งงานผ่านพิธีเคร่งศาสนา แนวคิดหลักที่อยู่ เบื้องหลัง Kanyadan คือว่าเจ้าบ่าวเป็นพระเจ้า “นารายณ์” และเจ้าสาวเป็นรูปแบบของเทพธิดา “พระมหาลักษมี” บิดามารดาของเจ้าสาวกำลังอำนวยความสะดวกในสหภาพของพวกเขาเพื่อนิรันดร์) ควบคู่ไปกับพื้นฐานทางจริยธรรมของ stridhana (คำว่า “stri”หมายถึงผู้หญิง และ “dhana” ซึ่ง ภายใต้กฎหมายฮินดู stridhana คือทรัพย์สินที่เป็นของผู้หญิงและเธอสามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป้นการให้หรือการทำพินัยกรรม) ในศาสนาฮินดู แนวคิด kanyadana กล่าวว่าการให้ ของขวัญเป็นอีกวิธีหนึ่งในการท˚าให้ได้รับการยอมรับทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรมที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่จะชดเชยเจ้าสาวเพื่อที่มสิทธิจากการสืบทอดที่ดินหรือทรัพย์สินจากครอบครัว