การให้ค่าตอบแทนการสมรสในต่างประเทศ

การให้ค่าตอบแทนการสมรสในต่างประเทศ
การให้ค่าตอบแทนการสมรสในต่างประเทศ

 

การให้ค่าตอบแทนการสมรสในต่างประเทศ

ในปัจจุบันกลุ่มประเทศในทวีปยุโรปมองว่าค่าตอบแทนการสมรสเป็นสิ่งที่ล้าหลังและ เปรียบเสมือนการขายลูกสาว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมของผู้หญิงในแง่สิทธิมนุษยชน ดังนั้น กลุ่มประเทศในทวีปยุโรปจึงไม่มีประเพณีหรือกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการให้ค่าตอบแทนการ สมรส และจากการสำรวจพบว่าในจำนวน 177 ประเทศ ยังคงมีอีก 90 ประเทศ ในกลุ่มทวีปเอเชีย

แอฟริกา และตะวันออกกลาง ยังคงมีการให้ค่าตอบแทนการสมรสอยู่ โดยสามารถแยกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การที่ครอบครัวเจ้าบ่าวมอบค่าตอบแทนการสมรสให้ครอบครัวฝ่ายเจ้าสาว ซึ่งปรากฏอยู่ 85 ประเทศ เช่น ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศไนจีเรีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศจีน ประเทศ กัมพูชา ประเทศลาว และประเทศไทยเป็นต้น อีกลักษณะคือ การที่ครอบครัวเจ้าสาวมอบ ค่าตอบแทนการสมรสให้ครอบครัวฝ่ายเจ้าบ่าว เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศเนปาล และ ประเทศบัง คลาเทศ เป็นต้น

แผนภาพแสดงกลุ่มประเทศที่มีการให้ค่าตอบแทนการสมรส

แต่อย่างไรก็ดีบางประเทศก็ได้มีการออกกฎหมายเพื่อต่อต้านการจ่ายค่าตอบแทนการ สมรสแล้ว เช่นในประเทศอินเดีย แต่ด้วยประเพณีและความเชื่อที่มีมายาวนาน จึงทำให้การบังคับใช กฎหมายไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนี้จึงยังคงพบการให้ค่าตอบแทนการสมรสจากฝ่าย

เจ้าสาวที่มอบให้แก่ฝ่ายชาย ซึ่งพบเห็นได้ในสังคมชนบทของประเทศอินเดีย ดังนั้นผู้เขียนจึงขอ หยิบยก กฎหมายของประเทศที่มีเรื่องการให้ค่าตอบแทนการสมรสที่ยังคงมีการใช้บังคับอยู่ หรือมี การใช้อยู่ในลักษณะของประเพณี อันมีมีลักษณะใกล้เคียงกับเรื่องสินสอดของประเทศไทยมา เปรียบเทียบ

เงิน การตีราคานั้นถือตามกฎระเบียบของบ้านเมือง ต่างจากในสมัยปัจจุบันเป็นเรื่องที่พ่อแม่ชาย และหญิงจะมาตกลงกัน) และวันนั้นก็จะมีพ่อ แม่ ญาติสนิทและเพื่อนฝูงของทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาวมา พร้อมหน้าเพื่อเป็นสักขีพยาน ในการเตรียมงานสำหรับพิธีแต่ง ก็จะเริ่มต้นด้วยคนเฒ่าคนแก่ เตรียม ธูป เทียน พานพุ่มดอกไม้ทำจากใบตองเป็นชุดบายศรี ส่วนคนหนุ่มก็ตระเตรียมสถานที่ สาว ๆ ก็จะ เข้าครัวดูแลเรื่องอาหารการกิน บรรยากาศเหมือนงานบุญที่ล้วนต่างก็มาช่วยกัน อาหารก็จะประกอบ ไปด้วยอาทิ ลาบ คำพ้องเสียงกับ ลาภ ซึ่งหมายถึงความโชคดีมีโชคลาภนั่นเอง ปาเต้ตับหมูบดทานกับ ขนมปังสูตรของคนเก่าแก่ ฯลฯ รุ่งเช้าสำหรับวันแต่งงาน เจ้าสาวก็จะต้องตื่นแต่เช้ามืด เพื่อแต่งตัว ตามประเพณีลาว ก่อนเจ้าบ่าวจะเดินทางมาถึง เจ้าสาวก็จะทำการคารวะเคารพพ่อ แม่และครอบครัว ของตนตามพิธี ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูมา อีกทั้งยังมีพิธีการ มอบของมีค่าเช่น ทองคำให้กับพี่สาวอันเป็นการขอขมาที่ตนต้องแต่งงานก่อนพี่ ๆ ซึ่งตามประเพณี ลาวนั้นพี่คนโตพึงต้องแต่งงานก่อนน้อง ๆ และเมื่อได้ฤกษ์ดี เวลาอันเป็นมงคล ขบวนแห่ก็เริ่มขึ้นทาง คณะเจ้าบ่าวเดินทางมาบ้านเจ้าสาว ซึ่งเจ้าบ่าวก็จะพกดาบเงิน ถุงแพร รวมทั้งดอกไม้และธูปเทียน และมีเพื่อนเจ้าบ่าวซึ่งเป็นคนโสด ท˚าหน้าที่ถือร่มกางให้แก่เจ้าบ่าว เพื่อนญาติสนิทก็จะร้องรำทำเพลง พื้นเมืองตลอดเวลาแห่ขบวน เมื่อถึงบ้านเจ้าสาว ก็จะมีญาติผู้ใหญ่เพื่อนเจ้าสาว ใช้เข็มขัดทองกั้น ไม่ให้เข้าประตู เจ้าบ่าวต้องทำหน้าที่เจรจากับผู้เฝ้าทางเข้า เพื่อปล่อยให้ตนเข้าไปในบ้านเจ้าสาว การ เจรจาต่อรองมีการแจกซองใส่เงินให้แก่คนเฝ้าประตูและพยายามผ่านเข็มขัดทองที่ขวางอยู่นั้น 44
เมื่อฝ่าด่านเข้าไปแล้วก็จะต้องถอดรองเท้าเพื่อล้างเท้าด้วยดอกไม้หอมซึ่งจัดให้ โดยญาติที่อายุน้อยสุดของเจ้าสาว ก่อนจะก้าวเข้าสู่เรือนเจ้าสาว ณ จุดนี้เจ้าบ่าวจะแจกซองใส่เงิน ให้แก่ผู้ล้างเท้า เมื่อพิธีล้างเท้าเสร็จญาติผู้ใหญ่ของเจ้าสาวผู้ซึ่งได้ครองเรือนมายาวนานจะนำไปยังห้อง โถงเพื่อทำพิธีบายศรี และพร้อมหน้ากับเจ้าสาวที่นั่น โดยหมอพรจะเริ่มพิธีบทสวดที่มีความหมายสอน ให้คู่บ่าวสาวดำเนินชีวิตสมรสที่ปรองดองและเป็นสุข รวมทั้งเป็นการให้พรแก่คู่บ่าวสาวด้วย ซึ่งในพิธี คู่บ่าวสาวจะต้องกินไข่ พิธีบายศรีใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที เสร็จแล้วพ่อแม่และญาติทั้งหลายของ คู่บ่าวสาวจะผูกข้อมือให้ด้วยด้ายสีขาว เมื่อได้เวลาอันสมควร ญาติผู้ใหญ่ในพิธีบายศรีจะพาส่งเจ้าบ่าว และเจ้าสาวเข้าหอ ซึ่งหอหรือห้องนอนนั้น ถูกจัดขึ้นโดยพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ซึ่งมีชีวิตคู่ที่ราบรื่น ทำ

การจัดแต่งผ้าปูที่นอน มีการนำบายศรีไปให้คู่บ่าวสาวถึงห้องนอน ในห้องนอนนั้น พ่อแม่และญาติ ผู้ใหญ่จะให้พรและคำสอนในการดำรงชีวิตคู่ให้มีความสุขและรุ่งเรือง
การหมั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งลาว ปี พ.ศ.2470 ได้กำหนดการหมั้นไว้ โดย ฝ่ายชายจะเอาของหมั้นไปไว้กับฝ่ายหญิงเพื่อเป็นสิ่งผูกมัดว่าชายจะสมรสกับหญิง และมิให้หญิงที่เป็น คู่หมั้นสมรสกับบุคคลอื่น ในกรณีฝ่ายชายละเมิดการหมั้นทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นต้องคืนแก่ฝ่ายชาย พร้อมถูกปรับ และชดใช้ความเสียหายที่มีขึ้นจนกระทั่งลาวได้มีการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วย ครอบครัว เลขที่ 07/90 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 ธันวาคม 2533 เรื่องการหมั้นหรือที่ลาวเรียกว่า สู่ขอ ในเวลานั้นกฎหมายลาวได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางเรื่องการหมั้นไปจากเดิมคือกฎหมาย เพียงแค่ให้ชายไปสู่ขอต่อบิดามารดา หรือญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิงตามประเพณีก็เพียงพอ โดย กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องส่งของหมั้นให้แก่หญิง แต่หากในแง่ของประเพณีลาวการหมั้นหมายนั้นก็ ยังคงมีการนำทรัพย์สินไปมอบให้แก่ฝ่ายหญิงอยู่ดี กฎหมายครอบครัวลาวฉบับนี้ได้ใช้มาจนถึง พ.ศ. 2551 จึงได้มีการบังคับใช้กฎหมายครอบครัว (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งเป็นการพัฒนาแนวคิดของเรื่องการ หมั้นและสินสอดให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น
กฎหมายครอบครัวลาวได้มีการปรับปรุงใหม่ โดยสภาแห่งชาติฉบับที่ 05 / สพว บังคับใช้วันที่ 26 กรกฎาคม 2551 แบ่งออกเป็น 6 ภาค ได้แก่ ภาคที่ 1 บทบัญญัติทั่วไป ภาคที่ 2 การหมั้นหมาย การสู่ขอ และการแต่งงาน ภาคที่ 3 การสิ้นสุดการเป็นสามีภรรยา ภาคที่ 4 คุณสมบัติ ของคู่ผัวเมีย ภาค 5 สิทธิและพันธะของบิดามารดากับบุตร ภาคที่ 6 การใช้กฎหมายว่าด้วยครอบครัว ลาวต่อคนต่างประเทศ คนต่างด้าว คนไม่มีสัญชาติ และพลเมืองลาวที่อยู่ต่างประเทศ ภาคที่ 7 นโยบายต่อผู้มีผลงาน และมาตรการต่อผู้ละเมิด ภาคที่ 8 บทบัญญัติสุดท้าย
โดยในกฎหมายครอบครัว (ฉบับปรับปรุง) ได้มีการเพิ่มเติมเรื่องการอธิบาย คำศัพท์เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และได้แยกกรณีการหมั้นหมายออกมาให้ชัดเจน แยกออก จากเรื่องของการสู่ขอ อีกทั้งได้มีการแยกเรื่องของทรัพย์สินที่ประกอบการสมรสคือ ค่าดอง (สินสอด) และของหมั้น ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังปรากฏตามบทบัญญัติต่อไปนี้