แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์เกาหลี

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์เกาหลี แนวคิดเกี่ยวกับภาพยนตร์
⦁ บทบาทและความส˚าคัญของภาพยนตร์
ตามความเข้าใจของคนทั่วไป “ภาพยนตร์” เป็นเพียงแค่โลกมายาที่ฉาบฉวย หรือเป็นเพียงแค่ความ
บันเทิงแต่ส˚าหรับการศึกษาด้านสื่อและวัฒนธรรมศึกษา (Media and Cultural Studies) แล้ว กลับให้ความส˚าคัญ ต่อการศึกษา “ภาพยนตร์” โดยให้เหตุผลดังต่อไปนี้
ประการแรก บรรดาการวิเคราะห์ในภาคเอกสาร หรือการลงพื้นที่ศึกษาอาจเป็นสิ่งไกลตัวของคนทั่วไป ในทางตรงข้าม โลกมายาภาพยนตร์กลับใกล้ชิดและอยู่ในชีวิตประจ˚าวัน อีกทั้งในเชิงปริมาณภาพยนตร์มาบ่อย มากกว่าบรรดาเอกสารต่าง ๆ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คนจ˚านวนมากจะชมภาพยนตร์มากว่าหยิบหนังสืออ่าน
ประการถัดมา ภาพยนตร์มีทั้งภาพและเสียงอันเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในศตวรรษที่ 20 ที่ทรง พลานุภาพ ซึ่งมี
ความส˚าคัญทั้งในแง่การดึงดูดใจผู้ชม และสื่อสารส˚าหรับคนทุกเพศทุกวัยเหนือกว่าสิ่งอื่นใด ยิ่งกว่านั้นในบาง ยุคสมัย ภาพยนตร์กลายเป็นเครื่องมืออุดมการณ์ทางการเมืองอีกด้วย (ก˚าจร หลุยยะพงศ์, 2547: 94)
นอกจากคุณลักษณะดังกล่าวแล้ว ภาพยนตร์ยังมีบทบาทส˚าคัญอีกอย่างหนึ่ง สอดคล้องกับข้อมูลที่ ส˚านักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ ภาพยนตร์ เอาไว้ว่า ภาพยนตร์ หมายถึง สื่อเคลื่อนไหวที่สะท้อนเหตุการณ์ทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรม ( http://www.culture.go.th, 2006) คล้ายคลึงกับค˚ากล่าวที่ว่า “ภาพยนตร์เกี่ยวข้องกับสังคมและเป็นภาพสะท้อนของสังคม ปรากฏการณ์หลายอย่าง ในอุตสาหกรรมการสร้างภาพยนตร์เป็นตัวบ่งชี้ว่าสังคมในขณะนั้นมีสภาพและทิศทางเป็นเช่นไร” (กฤษฎา เกิด ดี, 2541: 137)
จะเห็นได้ว่า อีกบทบาทที่ส˚าคัญของภาพยนตร์ ก็คือ การถ่ายทอดสภาพสังคมและสะท้อนวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็น คติ แนวคิด และความเชื่อ รวมถึงรูปแบบการด˚าเนินชีวิตของคน สอดคล้องกับทรรศนะที่ว่า “โดย
ความจริงแล้วหนังในแต่ละยุคสมัย จะสะท้อนภาพสังคมในยุคนั้นออกมาได้เหมือนกัน อย่างในช่วงที่เรียกว่ายุค แสวงหา ก็จะมีหนังลักษณะที่คนดูต้องแสวงหาความหมายของมันออกมาเยอะ หนังที่ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ หรือ วิธีการสื่อความหมายในลักษณะต่างๆ จะมีเยอะ คนดูดูแล้วต้องตีความตามไปด้วย มันคือภาพสะท้อนของยุค
นั้น” (กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน, 2541: 13)
นอกจากสะท้อนภาพสังคมและวัฒนธรรมแล้ว ภาพยนตร์ยังมีบทบาทที่น่าสนใจอื่นอีก สอดคล้องกับ ข้อมูลที่ว่า “ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือส˚าคัญสิ่งหนึ่งในฐานะสื่อที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมในด้านต่างๆ” (สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, 2544: 31-35) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ก) ท˚าให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านศิลปวัฒนธรรม เนื่องจากสามารถน˚าภาพและเสียงของ ศิลปวัฒนธรรมจากแหล่งหนึ่งไปสู่ประชาชนในแหล่งอื่นๆ

ข) มีความส˚าคัญด้านการศึกษา โดยถ่ายทอดความรู้ เนื่องจากภาพยนตร์สามารถน˚าความรู้ที่อยู่ไกล หรือไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่า ท˚าให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เช่นการศึกษาอวกาศ หรือสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง เร็วหรือช้า ให้ช้าหรือเร็วขึ้นพอที่จะศึกษาได้ชัดเจน
ค) มีความส˚าคัญต่อกิจการทหารและความมั่นคงของประเทศ ทางการทหารเพื่อบันทึกวิธีการรบ ภูมิ ประเทศ และที่ตั้งของข้าศึก เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการใช้ภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์เพื่อประเมิน ก˚าลังข้าศึกและผลการปฏิบัติการรบของฝ่ายตน
ง) มีความส˚าคัญต่อกิจการแพทย์ นอกจากเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์ ยังใช้ในการบันทึกอาการเพื่อ วินิจฉัยโรค และถ่ายทอดการปฏิบัติทางการแพทย์จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง
จ) เพื่อกิจการสารสนเทศ เปลี่ยนแปลงสังคมในการค้นคว้าข้อมูลและการตัดสินใจของประชาชน เช่น หาข้อมูลได้จากศูนย์ภาพยนตร์แห่งชาติของประเทศไทย เป็นต้น
ฉ) มีความส˚าคัญต่อการประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่เหตุการณ์หรือองค์กรขนาดเล็กจนถึง ประชาสัมพันธ์ระดับชาติ ซึ่งให้ความรู้ ทัศนคติ ทักษะ ใกล้เคียงสถานการณ์จริงมากกว่า
ช) มีความส˚าคัญต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสังคม ภาพยนตร์ที่มีผู้ชมมาก สามารถโน้มน้าว พฤติกรรมของสังคม ตั้งแต่การแต่งกาย บุคลิกตัวแสดงท˚าให้ผู้ชมกระท˚าตาม โดยเฉพาะภาษาในภาพยนตร์มักมี อิทธิพลต่อการใช้ภาษาของประชากรในสังคม
ด้วยคุณสมบัติอันหลากหลาย ท˚าให้กระแสอุตสาหกรรมภาพยนตร์กลายเป็นเป้าสนใจแก่วงการธุรกิจ ต่างๆ ในปัจจุบัน สอดคล้องกับข้อมูลเกี่ยวกับการข้ามสายของธุรกิจคอมพิวเตอร์เข้าสู่วงการภาพยนตร์ของ บริษัทยักษ์ใหญ่ Intel ดังที่ เควิน คอร์เบ็ตต์ รองประธานฝ่าย Digital Home Group และผู้จัดการทั่วไปฝ่าย Content Service Group ของ Intel กล่าวถึงการที่ Intel ข้ามสายธุรกิจคอมพิวเตอร์เข้าสู่วงการภาพยนตร์ ทั้งด้วย การท˚าสัญญากับค่ายภาพยนตร์และค่ายโทรทัศน์เพื่อซื้อคอนเทนท์ มหาศาลป้อนให้แก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์รุ่น Viiv ของพวกเขา และเปิดบริษัทท˚าภาพยนตร์อีกด้วย (วารสาร Bioscope 55, 2549: 57)
ประกอบกับคุณลักษณะอันโดดเด่นทางสุนทรียภาพที่ดึงดูด ตลอดจนเรื่องราวและรายละเอียดต่างๆ ที่ สะกดให้เกิดการคล้อยตามของผู้รับสารได้อย่างไม่ยากนัก ด้วยความเคลิบเคลิ้ม และความประทับใจที่ฝังลึกใน สุนทรียะที่ปรากฏ

⦁ สุนทรียภาพของภาพยนตร์
จากบทบาทและความส˚าคัญข้างต้น ท˚าให้รับรู้ได้ถึงคุณค่าของภาพยนตร์ที่มีต่อสังคมโดยรวม ส่วน ระดับปัจเจกที่เล็กที่สุด ก็ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้คุณค่าของภาพยนตร์ ด้วยเช่นกัน ดังทรรศนะของผู้ใช้ นามปากกา วลัยกร ที่มีว่า
“หนังสือบางเล่มและภาพยนตร์บางเรื่องท˚าให้เราร้องไห้ทุกครั้งที่หยิบขึ้นมาอ่านหรือดูมัน และอีกครั้ง นั่นคงเป็นเพราะเรารักมันเข้าไปแล้ว และภาพยนตร์บางเรื่องที่เราไม่ได้ร้องไห้ตั้งแต่ตอนที่ดูครั้งแรก แต่กลับ ร้องไห้อย่างหยุดไม่ได้ในตอนที่ดูเป็นครั้งที่เท่าไหร่แล้วก็ไม่รู้ … ภาพยนตร์ที่อยู่ในดวงใจบางเรื่องไม่ได้ท˚าให้ ร้องไห้ ภาพยนตร์ที่ดูแล้วร้องไห้บางเรื่องก็ไม่ได้ติดอยู่ในดวงใจนานนัก”
ความซาบซึ้งในคุณค่าของความงาม บ่งบอกได้ถึงอิทธิพลของภาพยนตร์ที่มีต่ออารมณ์ความรู้สึกของ มนุษย์ สอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่ว่าด้วยการรับรู้ถึงสุนทรียภาพของปัจเจก และเมื่อกล่าวถึงสุนทรียภาพ
พจนานุกรมศัพท์ศิลปะให้ข้อมูลเรื่องความหมายของสุนทรีภาพไว้ว่า “สุนทรีภาพ” ( Aesthetics) หมายถึง ความ ซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งที่งาม ไพเราะ หรือรื่นรมย์ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ หรือศิลปะ (พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ.
2530: 6)
ส่วนนิยามของสุนทรียภาพ กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้ “สุนทรียภาพ” หรือ สุนทรีย์ เป็นความรู้สึกบริสุทธิ์ที่ เกิดในห้วงเวลาหนึ่ง ลักษณะอารมณ์หรือความรู้สึกนั้นเราใช้ภาษาแทนความรู้สึก ซึ่งได้ความหมายไม่เท่าที่รู้สึก จริง เช่น พอใจ ไม่พอใจ เพลิดเพลินใจ ทุกข์ใจ กินใจ … อารมณ์หรือความรู้สึกดังกล่าวจะพาให้เกิดอาการลืมตัว (Attention span) และเผลอใจ ( Psychical distance) ลักษณะทั้งหมดนี้เรียกว่า สุนทรีย์ หรือสุนทรียภาพ (http://www.school.net.th, 2006)
แนวคิดเกี่ยวกับห้วงแห่งความรู้สึกที่ก่อให้เกิดอาการลืมตัวและเผลอใจ ดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องราวของ
อารมณ์ความรู้สึกที่มีความซาบซึ้งในความงาม สอดคล้องกับทรรศนะของมหากวีท่านหนึ่ง ที่แสดงเกี่ยวกับการ เข้าถึงศิลปะไว้อย่างน่าสนใจว่า “ยิ่งเข้าถึงงานศิลปะนั้นด้วยปัญญาได้น้อย งานศิลปะจะยิ่งทวีความยิ่งใหญ่” (เกอ เธย์ อ้างใน สนธยา ทรัพย์เย็น, 2547: 14)
จากข้อความข้างต้นท˚าให้รับรู้ได้ว่า ในการเข้าถึงศิลปะให้ลึกซึ้งเป็นเรื่องของการใช้จินตนาการ และ
อารมณ์ความรู้สึกมากกว่าวุฒิปัญญาและความรอบรู้ อาจกล่าวได้ว่า สุนทรียภาพ คือความรู้สึกบริสุทธิ์ที่แสดงถึง ความซาบซึ้งต่อคุณค่าของธรรมชาติหรือศิลปะ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง โดยเหตุนี้จึงพูดได้ว่า แม้เหตุผลจะเป็นปัจจัย ส˚าคัญที่มีความจ˚าเป็นต่อการด˚ารงอยู่ของมนุษย์ แต่ในบางครั้งเรื่องราวของอารมณ์ความรู้สึกนั้น ก็ช่วยให้ชีวิต
มนุษย์ไม่ด˚าเนินอยู่อย่างแห้งแล้งจนเกินไป