แนวคิดเกี่ยวกับการเล่าเรื่อง

แนวคิดเกี่ยวกับการเล่าเรื่อง
ภาพยนตร์ถูกน˚าไปใช้เพื่อประโยชน์ต่างๆ อยู่เสมอ การด˚ารงอยู่ในสังคมแห่งการสื่อสารจึงจ˚าเป็นต้องมี การตรวจสอบ เพราะความจริงที่ซ่อนภายใต้ปรากฏการณ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งซึ่งยากที่จะรู้ได้ เช่นเดียวกับศาสตร์

ภาพยนตร์ การศึกษาเกี่ยวกับการเล่าเรื่อง ถูกน˚ามาใช้ตีความให้เข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์การเล่าเรื่องในภาพยนตร์ ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้ (ฉลองรัตน์ ทิพย์ พิมาน, 2539: 10-19)
⦁ โครงเรื่อง ( Plot) ในการวิเคราะห์ภาพยนตร์ นวนิยาย รวมทั้งการเล่าเรื่องเกือบทุกชนิด โครง เรื่องเป็นองค์ประกอบส˚าคัญที่ต้องน˚ามาศึกษาเสมอ โดยมีการล˚าดับเหตุการณ์ไว้ 5 ขั้นตอน

  1. การเริ่มเรื่อง ( Exposition) เป็นการชักจูงความสนใจติดตามเรื่องราว แนะน˚า ตัวละคร ฉาก หรือสถานที่ ให้ชวนติดตาม โดยไม่จ˚าเป็นต้องเรียงตมล˚าดับ
    เหตุการณ์ก็ได้
  2. การพัฒนาเหตุการณ์ ( Rising Action) คือ การที่เรื่องราวด˚าเนินไปอย่าง ต่อเนื่องและสมเหตุผล ปมปัญหาหรือข้อขัดแย้งเริ่มทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
  3. ภาวะวิกฤติ ( Climax) จะเกิดเมื่อเรื่องราวก˚าลังถึงจุดแตกหัก และตัวละครอยู่ ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ
  4. ภาวะคลี่คลาย ( Falling Action) คือ สภาพหลังจากที่จุดวิกฤติได้ผ่านพ้นไป แล้ว เงื่อนง˚าและประเด็นปัญหาได้รับการเปิดเผย
  5. การยุติของเรื่องราว (Ending) คือ การสิ้นสุดของเรื่องราวทั้งหมด
    ⦁ ความขัดแย้ง ( Conflict) นอกจากการศึกษาโครงเรื่องแล้ว ความขัดแย้งก็เป็นอีกส่วนที่ได้รับ การน˚ามาศึกษาอยู่เสมอ เพราะจะท˚าให้เข้าใจเองราวได้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น อีกทั้งแท้จริงแล้วเรื่อง เล่าคือการสานเรื่องราวบนความขัดแย้ง ซึ่งความขัดแย้งสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
  6. ความขัดแย้งระหว่างคนกับคน คือ การที่ตัวละครสองฝ่ายไม่ลงรอย ต่อต้าน หรือพยายามท˚าลายล้างกัน
  7. ความขัดแย้งภายในจิตใจ เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายใน ตัวละครจะทีความ สับสนหรือยุ่งยากล˚าบาก ในการตัดสินใจ เพื่อกระท˚าการอย่างที่คิดเอาไว้
  8. ความขัดแย้งกับพลังภายนอก เช่นขัดแย้งกับสภาพแวดล้อม หรือธรรมชาติที่ โหดร้าย
    ⦁ ตัวละคร (Character)ลอเรนซ์ เพอร์รีน (Laurence Perrine 1978: 1491) ให้ความหมายตัวละคร ว่า ” คือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องราวในการเล่าเรื่อง…นอกจากนี้ยังหมายถึง บุคลิกลักษณะของตัวละคร ไม่ว่าจะรูปร่างหน้าตาหรืออุปนิสัยใจคอของตัวละครด้วย”

ดไวน์ วี. สเวน (Dwight V. Swain 1982: 95-114) กล่าวว่า แต่ละตัวละครต้องมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นความคิด และส่วนที่เป็นพฤติกรรม. ความคิดของตัวละคร ( Conception) โดยปกติจะเป็นสิ่ง เปลี่ยนแปลงยากจนกว่าจะมีเหตุผลที่ส˚าคัญเพียงพอส˚าหรับการเปลี่ยนแปลง
ส่วนพฤติกรรมของตัวละคร (Presentation) จะเป็นผลอันเกิดจากความคิดและทัศนคติของตัวละคร
นอกจากนี้คุณสมบัติของตัวละครยังมักได้รับการน˚ามาวิเคราะห์อยู่เสมอ โดยจ˚าแนกตัวละครตาม คุณสมบัติของตัวละครได้เป็น 2 ชนิด
ก. ตัวละครผู้กระท˚า คือตัวละครที่มีลักษณะเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ ไม่ถูกคุกคามหรือครอบง˚าจากผู้อื่น โดยง่าย มักมีเป้าหมายและการตัดสินใจเป็นของตน
ข. ตัวละครผู้ถูกกระท˚า คือตัวละครที่มีลักษณะอ่อนแอ ต้องพึ่งพา อยู่ภายใต้การดูแลหรือควบคุมของตัว ละครอื่น
⦁ แก่นความคิด / แนวเรื่อง (Theme) การวิเคราะห์ภาพยนตร์โดยทั่วไปแล้วมีความจ˚าเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องจับใจความส˚าคัญของเรื่องไว้ให้ได้ มิฉะนั้นจะไม่อาจรู้ถึงแนวคิดที่ผู้เล่าต้องการ
ถ่ายทอดให้ทราบ
⦁ ฉาก ฉากมีความส˚าคัญเพราะท˚าให้มีสถานที่รองรับเหตุการณ์ต่าง บ่งบอกความหมายของเรื่อง และมีอิทธิพลต่อความคิดหรือการกระท˚าของตัวละครอีกด้วย (ปริญญา เกื้อหนุน 2537: 70)
ธัญญา สังขพันธานนท์ (2539 : 191-193) สรุปประเภทของฉากไว้ 5 ประเภทดังนี้
⦁ ฉากที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่สภาพแวดล้อมธรรมชาติที่แวดล้อมตัวละคร เช่น ป่าไม้ ทุ่ง หญ้า หรือบรรยากาศในแต่ละวัน
⦁ ฉากที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ ได้แก่ บ้าน เครื่องใช้ หรือสิ่งประดิษฐ์ไว้ใช้สอย
⦁ ฉากที่เป็นช่วงเวลาหรือยุคสมัย ได้แก่ยุคสมัย หรือช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์
⦁ ฉากที่เป็นการด˚าเนินชีวิตของตัวละคร หมายถึง สภาพแบบแผน หรือกิจวัตรประจ˚าวัน ของตัวละคร ชุมชน หรือท้องถิ่นที่อาศัย
⦁ ฉากที่เป็นสภาพแวดล้อมเชิงนามธรรม คือสภาพแวดล้อมที่จับต้องไม่ได้ แต่มีลักษณะ เป็นความเชื่อ หรือความคิด เช่น ค่านิยม ธรรมเนียม ประเพณี
⦁ สัญลักษณ์ต่างๆ ส˚าหรับการเล่าเรื่องในภาพยนตร์มักมีการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ( Symbols) เพื่อ สื่อความหมายอยู่เสมอ สัญลักษณ์ทั้งหลายที่มักพบในภาพยนตร์มี 2 ชนิดคือ สัญลักษณ์ทาง ภาพและสัญลักษณ์ทางเสียง

o สัญลักษณ์ทางภาพ คือ องค์ประกอบของภาพยนตร์ที่ถูกน˚าเสนอซ้˚า ๆ อาจ
เป็นวัตถุ สถานที่ หรือสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ หรือบุคคล ก็ได้ สัญลักษณ์อาจเป็น ภาพเพียงภาพเดียว หรือเป็นกลุ่มของภาพที่เกิดจากการตัดต่อ
o สัญลักษณ์ทางเสียง คือเสียงต่างๆ ที่ถูกใช้เพื่อแสดงความหมายอื่น ๆ เพื่อ
เปรียบเทียบความหมาย หรือเพื่อแสดงวัตถุประสงค์ของตัวละคร ไม่ใช่การใช้ เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมกับตัวละคร และเรื่องราวของภาพยนตร์
⦁ จุดยืนในการเล่าเรื่อง ( Point of View) คือการมองเหตุการณ์ การเข้าใจพฤติกรรมตัวละครผ่าน สายตาของตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง หรือหมายถึงการที่ผู้เล่ามองเหตุการณ์จากวงในใกล้ชิด หรือ จากวงนอกในระยะห่าง ๆ ซึ่งแต่ละจุดยืนมีความน่าเชื่อถือต่างกัน และมีผลต่อการชักจูง
อารมณ์ของผู้เสพเรื่องเล่า หลุยส์ จิอันเน็ตตี ( Louis Giannetti) ศาสตราจารย์ทางภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยคลีฟแลนด์ แบ่งจุดยืนการเล่าเรื่องภาพยนตร์ไว้ 4 ประเภท (ฉลองรัตน์ ทิพย์พิมาน , 2539:18)
⦁ เล่าเรื่องจากจุดยืนบุคคลที่หนึ่ง (The First-Person Narrator) คือการที่ตัวละคร ตัวเอกของเรื่องเป็นผู้เล่าเรื่องเอง การเล่าเรื่องชนิดนี้ตัวละครมักเอ่ยค˚าว่า “ผม” หรือ “ฉัน” อยู่เสมอ ข้อดีของการเล่าเรื่องชนิดนี้ ท˚าให้ใกล้ชิดกับกับ
เหตุการณ์ แต่มีข้อเสียตรงอาจมีอคติปะปนอยู่ด้วย
⦁ เล่าเรื่องจากจุดยืนบุคคลที่สาม ( The Third-Person Narrator) คือการที่ผู้เล่า กล่าวถึงตัวละครตัวอื่น เหตุการณ์อื่น ที่ตัวเองพบเห็นหรือเกี่ยวพันด้วย
⦁ การเล่าเรื่องจากจุดยืนที่เป็นกลาง (The Objective) เป็นจุดยืนที่ผู้สร้างพยายาม ให้เกิดความเป็นกลาง ปราศจากอคติในการน˚าเสนอ จึงไม่สามารถเข้าถึง
อารมณ์ตัวละครได้อย่างลึกซึ้ง เนื่องจากเป็นการสังเกตหรือรายงานเหตุการณ์ ให้ผู้ชมตัดสินเรื่องราวเอง
⦁ การเล่าเรื่องแบบรู้รอบด้าน ( The Omniscient) คือการเล่าเรื่องที่ไม่มีข้อจ˚ากัด สามารถรู้จิตใจตัวละครทุกตัว, ย้ายเหตุการณ์, สถานที่, ข้ามพ้นข้อจ˚ากัดด้าน เวลา, ย้อนอดีต, ก้าวไปในอนาคต, และส˚ารวจความคิดฝันตัวละครได้อย่างไร้ ขอบเขต