เบื่องานเบื่อการ มีอารมณ์ หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ขาดสติสัมปชัญญะ หาทางเบียดเบียนคู่ต่อสู้ด้วยวิธีการและรูปแบบต่างๆ ซึ่ง เป็นการผิดศีล หากยังไม่สมปรารถนาอีก บางคนก็อาจจะคิดสั้นก่ออกุศลกรรม สร้างทุกข์โทษ ให้แก่ตัวเอง คือ การอัตวินิบาตกรรม และหรือ แก่ผู้อื่นด้วยวิธีการอื่นๆ เท่าที่อกุศลเจตนาจะพาไป
- ความรักที่เกิดจาก เมตตา ซึ่งมีอยู่ในจิตวิญญาณของมนุษย์โดยทั่วถ้วนหน้า โดยไม่จ˚ากัดเชื้อชาติ
ศาสนา ชนชั้น วัย เวลา สถานที่ และสามารถแผ่กระจายไปได้ทุกหนทุกแห่งอย่างไม่มีขอบเขต เป็น สิ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับจิตวิญญาณของมนุษย์ตั้งแต่ต้น ยกเว้นผู้ที่มีความพิการทางสมองซึ่งไม่
สามารถกระตุ้นจิตวิญญาณให้เกิดอารมณ์ในลักษณะนี้ขึ้นได้
นิยามของความรัก ที่เทียบธรรมในทางพุทธที่ใกล้เคียงที่สุดคือ พรหมวิหาร 4 (พรหม = ที่พึ่ง , วิหาร = เครื่องอยู่) = ธรรมของความเป็นที่พึ่งพาได้คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
- เมตตา คือ ความรัก ,ความปรารถนาให้เขามีความสุข, แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า (ข้อ 1 ในพรหมวิหาร 4, ข้อ 2 ในอารักขกรรมฐาน 4)
- กรุณา คือ ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ ,ความหวั่นใจ เมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์ คิดหาทางช่วยเหลือปลด เปลื้องทุกข์ของเขา
- มุทิตา คือ ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ,เห็นผู้อื่นอยู่ดีมีสุข ก็แช่มชื่นเบิกบานใจด้วย เห็นเขาประสบ ความส˚าเร็จเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ก็พลอยยินดีบันเทิงใจ พร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนไม่กีดกันริษยา
- อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลางไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง , ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น (ข้อ 4 ในพรหมวิหาร4, ข้อ 7 ในโพชฌงค์ 7, ข้อ 10 ในบารมี 10, ข้อ 9 ในวิปัสสนูปกิเลส 10)
เมื่อนิยามความรักแล้ว ค˚าบรรยายความรักในทางโลกส˚าหรับผู้ยังมีกิเลส (กิเลส สิ่งที่ท˚าใจให้เศร้าหมอง , ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ท˚าให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์) ยังไม่ใช่ความรักที่บริสุทธิ์ตามพรหมวิหาร ธรรมล้วน ๆ ยังเจือปนไปด้วยอุปกิเลส (คือโทษเครื่องเศร้าหมอง , สิ่งที่ท˚าจิตใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรม ได้ยาก
ความสุขจากการกระท˚ากรรมดีร่วมกันมาจะส่งผลก่อน ดึงคนสองคนเข้ามาหากัน และหลังจากนั้นกรรมไม ดีจะเริ่มแสดงตัวที่ท˚าให้เกิดความทุกข์ระหว่างกัน ทะเลาะกัน
ความรักทุกชนิดของปุถุชน จะเจือปนด้วยกิเลสได้เสมอแม้แต่การรักลูก ตราบที่ยังมีลูกของเรา (ต้องดี ต้อง เก่ง ต้องเยี่ยม ต้องสวย ต้องหล่อกว่าคนอื่น) จนความรักกลายเป็นการผลักดันลูกให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้โดยอ้าง ความรัก
ความ รักของปุถุชนหนุ่มสาวที่ยังมีกิเลส มีกามราคะ (ความพึงใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) เริ่มจากตา
เห็นรูป แล้วจิตที่ยังมีอวิชชา มีความหลงครอบง˚า เริ่มปรุงแต่งว่า เมื่อรูปข้างนอกสวย จิตใจข้างในต้องดีด้วยเป็น แน่ (คิดเอา คาดเอาเอง) จึงพยายามสร้างปัจจัยทุกทางเพื่อให้ได้ครอบครองเพื่อเสพสิ่งที่ตน (คิดเอาเอง) ว่าดีนั้น เริ่มจากการเสพรูป (ผ่านทางตา) เสพรส (ผ่านทางปากหรือลิ้น) เสพกลิ่น (ผ่านทางจมูกโดยการดมกลิ่น) เสพ
เสียง (ผ่านทางหู) สัมผัส (ผ่านทางกายโดยการจับมือถือแขน ลูบไล้ กอดรัด รวมถึงการร่วมประเวณี) นี่เป็นการ บรรยายในมุมของการเสพ คือมองจากภายนอก
ถ้าจะบรรยายจากมุมมองของสติและสัมปชัญญะที่เห็นภาพรวมจากภายในจิตออกไปภายนอกนั้น ต้องเริ่ม
จาก
จิตที่มีอวิชชา – ความไม่รู้บังไม่ให้เห็นว่าจิตก˚าลังหลง เริ่มจากมีสิ่งกระทบ (ผัสสะ) มากระทบกับอายตนะ
(เครื่องดึงดูดให้จิตส่งออกนอก มีตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) ไม่ว่าจะเป็นรูปกระทบตา เสียงกระทบหู กลิ่น
น้˚าหอมหรือกลิ่นกายกระทบจมูก ได้ชิมรสต่าง ๆ (ในกรณีของอาหาร) ทางลิ้น ได้สัมผัสทางกาย (กายของเพศ
ตรงข้าม หมอน เบาะหรือที่นอนนุ่มๆ ตลอดจนการปรุงแต่งของสังขารขันธ์หรือใจ ที่ท˚าการ amplify จนความ ยึดมั่นในคนหรือวัตถุที่จิตไปเกาะยึดอยู่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ) ส่งให้จิตปรุงแต่งหาวิธีครอบครองคนหรือจิตหรือ วัตถุนั้น ๆ จนเกิดเป็นมโนกรรม วจีกรรม ตลอดจนกายกรรมต่อไป และถ้าบุคคลไม่มีศีลแล้ว ก็สามารถกระท˚า
การที่ละเมิดบุคคลอื่นจนเกิดเป็นกรรมไม่ดีขึ้นมาได้ต่อไป
ความรักจะเป็นพิษ เมื่อบุคคลยึดกับวัตถุสิ่งของหรือบุคคลอื่นมากจนขาดสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้ส˚ารวจ ตรวจสอบตนเองจนไปละเมิดบุคคลอื่น
เริ่มจาก ปาณาติบาต (การตัดชีวิตสัตว์อื่นให้สิ้นไป) อทินนาทาน (ถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้มอบให้มาเป็น ของตน) กาเมสุมิจฉาจาร (ความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ผิดประเวณี คือไปแย่งของรัก ละเมิดคู่รักผู้อื่น)
มุสาวาทา (พูดไม่จริงที่ท˚าให้เกิดความเคยชินกับการผิดศีล ท˚าให้ลดความรู้สึกผิดเวลาผิดศีลลงไปเรื่อย ๆ) หรือ สุราเมรัย (ดื่มสุราเกินพอดีจนท˚าให้ขาดสติ)